วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

เซ็งจิต......ใครช่วยที



          ในการดำเนินชีวิตของเราบางครั้งย่อมพบเจอกับอุปสรรคหรือสิ่งกีดขวาง ซึ่งมักจะเข้ามารบกวนจิตใจของเราอยู่บ่อยๆ  ในสภาวะนั้นเราจะมีความทุกข์ จิตตก  เกิดอาการ "เซ็ง" ไม่อยากจะทำอะไร ซึ่งความเซ็งนี้มีหลายระดับ  ถ้าหนักสักหน่อยจะเกิดรู้สึกเจ็บปวด เบื่อหน่าย สูญสิ้นไปซึ่งความหวังและกำลังใจ หมดพลังจนอาจเกิดอาการเข่าอ่อน หน้ามืด หรือปวดศีรษะแบบไม่มีสาเหตุ  ถ้าอาการแบบนี้เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีสุขภาพจิตปกติไปถึงดี บุคคลนั้นก็จะสามารถจัดการกับอารมณ์และเผชิญหน้ากับปัญหา  พยายามหาวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง  และกลับมาทำหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบได้     ในบุคคลบางกลุ่มที่มีอัตมโนทัศน์ (Self Concept) ต่อตนเองในด้านลบ  จะเกิดปัญหาอย่างมากในการจัดการกับความคิดของตนเอง จะเกิดความทุกข์ ซึ่งส่งผลให้กระอักกระอ่วน  มีความคิดที่ไม่สมเหตุสมผล เกิดความคับข้องใจจนทำให้ควบคุมตนเองไม่ได้    เกิดปัญหาด้านสุขภาพจิต จนถึงขั้นขนาดคิดทำร้ายตนเองก็เป็นได้.....การตั้งสติและเผชิญกับปัญหาน่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด  ตัวเราเองต้องพยายามสังเกตอาการของตนเอง  บางคนอาจจะต้องมีที่ปรึกษาที่คอยรับฟัง และให้กำลังใจ  บางคนอาจจะใช้วิธีการอยู่กับตัวเอง  อ่านหนังสือ  และทำสมาธิ ต้องทำใจยอมรับกับการเปลี่ยนแปลง........สิ่งสำคัญคือจิตใจของเราต้องเติมเต็มให้สมบูรณ์  เปลี่ยนวิธีคิดให้เป็นไปในทางบวกและมีความพอใจในแบบฉบับของแต่ละคน
         

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

รู้รัก...รู้สอน เด็กพิเศษ

        อาชีพ "ครู" เป็นอาชีพที่ช่วยพัฒนาคน ซึ่งพัฒนาทั้งทางด้านความรู้และระดับของจิตใจ  ด้วยบทบาทและภาระหน้าที่  ครูจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียน  ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนเป็นสิ่งที่ครูต้องทำความเข้าใจ และสอนให้ผู้เรียนหรือลูกศิษย์ได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ 
       ในการสอนเด็กพิเศษนั้น มีข้อจำกัดในเรื่องของระดับสติปัญญา สิ่งที่ครูพอจะทำได้คือพยายามเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและเป็นธรรมชาติ  ซึ่ง. ดร.  ศรินทร วิทยะสิรินันท์ (ครูสอนเด็กพิเศษระดับมัธยมศึกษาร.ร.นานาชาติเซนท์แอนดรู). ได้สรุปไว้ดังต่อไปนี้
1.  ยอมรับเด็กตามระดับที่เขาเป็นอยู่จริงๆ. ไม่ใช่คาดหวังให้เขาทำได้เหมือนเพื่อนๆในชั้นและทำให้เราผิดหวังและโกรธเมื่อเขาไม่สามมาระทำได้อย่างที่เราคาดหวัง.  การเรียนรู้ที่จะยอมรับเด็กตามความเป็นจริงเป็นการพัฒนาตนอย่างสำคัญของครูเพราะครูที่ดีควรรู้จักและทำงานกับนักเรียนของตนได้ตามระดับความสามาราก้จริงของเขา
2.  ศึกษาเด็กและพิจารณาว่ามีด้านใดของเขาที่ต่างจากเพื่อนๆมากจนเราต้องรีบดำเนินการให้ความช่วยเหลือ
3.  ตั้งวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ของเขาให้สมเหตุสมผลพอที่จะเป็นได้ภายในเวลาไม่นานเกินไป
4.  ย่อยงาน (ภาษาในวิชาการเขาเรียกว่า task. Analysis). หมายถึงการพิจารณาว่าสิ่งที่เราอยากให้เขาได้ทำนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบอะไรบ้าง หรือมีลำดับขั้นของความสามารถอะไรบ้าง
บูรณาการชีวิต พัฒนาเด็กพิเศษ (วัยรุ่น)