วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเรียนรู้


การเรียนรู้คืออะไร

         การเรียนรู้หมายถึง การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือมีการฝึกหัด เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนผลทำให้บุคคลมีความสามารถหรือจิตใจเปลี่ยนไปจากเดิม และแสดงให้รู้ได้โดยการมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างถาวรหรือค่อนข้างจะถาวร แต่พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงนี้ จะต้องไม่ใช่เป็นผลของการมีวุฒิภาวะ การเจ็บป่วย การใช้ยา การใช้เครื่องดื่ม หรือของมึนเมาหรืออุบัติเหตุ

องค์ประกอบของการเรียนรู้

1.      ผู้เรียน  (Learner)  หมายถึง มนุษย์ที่มีอวัยวะรับสัมผัส (Sense Organs) เพื่อใช้รับสิ่งเร้าต่างๆ

2.      สิ่งที่เรียนหรือบทเรียน (Stimulus)  เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เป็นสิ่งเร้า ซึ่งกระตุ้นประสาทความรู้สึกของผู้เรียนเป็นผลให้ผู้เรียนกระทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งพฤติกรรมภายในและที่สังเกตเห็นได้

3.      กระบวนการเรียน (Learning Process) เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่าง  ตัวผู้เรียนกับสิ่งที่เรียน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น  จะต้องมีความต่อเนื่องกัน จนกระทั่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้

1.     ตัวแปรเกี่ยวกับผู้เรียน ความแตกต่างระหว่างผู้เรียน  เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อผลการเรียนรู้  ความแตกต่างที่สำคัญ  เช่น  ความสมบูรณ์ของร่างกายและอวัยวะต่างๆ ความสนใจ แรงจูงใจ ประสบการณ์เดิม  สมรรถวิสัย  วุฒิภาวะ  เพศ  และอายุ

2.     ตัวแปรเกี่ยวกับบทเรียน  เช่น  ความยากง่าย  ของบทเรียน ความสั้นยาวของบทเรียน ความมีประโยชน์ของบทเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เรียนก่อนกับสิ่งที่เรียนหลัง ฯลฯ

3.     ตัวแปรที่เกี่ยวกับวิธีเรียน  เช่น  การฝึกหัด  การท่องจำ  การเรียนเพิ่ม  การใช้ประสาทรับรู้หลายๆทาง  การรับรู้ผลการเรียน  การจำแนกแยกแยะ  การหาความสัมพันธ์ ฯลฯ

สิ่งที่จะช่วยทำให้เป็นครูที่ดี

1.      ความพร้อม (Readiness) ได้แก่ความสมบูรณ์ของร่างกายและประสาทรับสัมผัส  ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการเรียนรู้ครั้งนั้นๆ  ตลอดจนประสบการณ์เดิมซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการเรียนรู้

2.      การจูงใจ (Motivation)  คือการกระตุ้นให้เกิดความต้องการ  เกิดความอยากรู้อยากเห็น  เกิดความสนใจและความตั้งใจ

3.      ความสนใจ (Interest)  ผู้เรียนที่มีความสนใจ  ในสิ่งที่ตนเรียน จะไม่มีความรู้สึกเบื่อหน่ายบทเรียนและช่วยให้เกิดการเรียนได้ง่ายและรวดเร็ว

4.      การกระทำซ้ำ (Repeated) คือการที่ผู้เรียนกระทำกิจกรรมที่ตนเรียนรู้มาแล้วซ้ำอีกเพื่อให้เกิดความชำนาญ

5.      การถ่ายโยง (Transfer) คือการที่ผู้เรียนนำเอาความรู้เดิม หรือประสบการณ์เดิมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้บทเรียนใหม่

6.      ความสามารถทางสมอง (Mental Ability) ผู้เรียนที่มีความสามารถทางสมองสูง  ย่อมสามารถเกิดการเรียนรู้ได้เร็ว  และสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้มาก

7.      สุขภาพจิต (Mental Health) ผู้เรียนที่มีสุขภาพจิตที่ดี ไม่มีปัญหา  มีความเต็มใจในการทำกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเรียน  จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว

สิ่งที่จะช่วยทำให้เป็นครูที่ดี

1.     มีความเชี่ยวชาญทางวิชาการที่ตนสอน

2.     มีความชอบความรักในวิชาการที่ตนสอน ถ้าไม่ชอบก็ควรจะไปประกอบอาชีพอื่น

3.     มีความสุขในการสอน ให้ความรัก ความสนใจในตัวผู้เรียน

4.     ศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อทำความรู้จักและเข้าใจ  แล้วจัดบทเรียนให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก

 

 

 

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สมองกับการเรียนรู้

 
 
 
           สมองทำงานได้อย่างไร

สมอง ทำหน้าที่บัญชาการของระบบประสาทส่วนกลางทั้งหมด ควบคุมดูแลการรับรู้ประสาทสัมผัสต่างๆ(ความรู้สึกนึกคิด, การเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ)
ส่วนประกอบของสมอง

l  ซีรีเบลลัม              ควบคุมการเคลื่อนไหวและการทรงตัว

l  ซีรีบรัม               เป็นสมองส่วนที่มีเนื้อมากที่สุดดูแลเรื่องความจำ ความรู้สึกนึกคิด  เชาวน์ปัญญาโดยถูกแบ่งเป็นสองซีก ซึ่งทำงานประสานกันตลอดเวลา

l  ก้านสมอง               เป็นส่วนที่รับและถ่ายทอดข้อมูลจากประสาทสัมผัสต่างๆ ดูเรื่องจังหวะการเต้นของหัวใจ ปฏิกิริยาตอบสนอง   

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับสมอง

l  สมองของเด็กมีความยืดหยุ่นกว่าผู้ใหญ่

l  เด็กแต่ละวัยจะเปิดรับต่างกัน เด็กพัฒนาการเรียนรู้ ด้านภาษา และด้านร่างกายได้ดีกว่าผู้ใหญ่ (บัลเล่ต์)

l  ส่วนที่พัฒนาช้าที่สุดของสมองคือ ส่วนการคิด และการตัดสินใจ ซึ่งจะพัฒนาเต็มครบส่วนตอนอายุ 25 ปี

l  สมองส่วนคิด 80 %  สมองส่วนอยาก 20 % (อารมณ์ สัญชาตญาณ ซึ่งควบคุมพฤติกรรมต่างๆ)

l  สมองส่วนคิด มีความสามารถในการเรียนรู้อย่างไร้ขอบเขต เรียนรู้ได้ดีในภาวะอารมณ์ด้านบวก คือ สนุก ท้าทาย มีความสุข สงบ  ในทางกลับกันจะเรียนรู้ได้ลดลงในภาวะอารมณ์ด้านลบ คือ น่าเบื่อ เครียด  วุ่นวาย นอกจากนั้นสมองยังเรียนรู้จากสังคมและผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ พี่น้องหรือเพื่อน

l  ช่วง 20 ปีแรก สมองจะเรียนรู้ได้มาก และการเรียนรู้นั้นก็แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย เพราะสมองมีการจัดระเบียบเส้นใยประสาทจากด้านหลังมาด้านหน้า   สมองส่วนไหนมีการจัดระเบียบก่อน ก็จะทำให้เรียนรู้ได้ง่ายในช่วงวัยนั้น

l  วัยทารก  เรียนรู้เกี่ยวกับการสัมผัสและกล้ามเนื้อใหญ่

l  วัย 3 – 5 ปี สมองจะเรียนรู้ในด้านภาษา ความคิด และจินตนาการ ซึ่งจะต่อเนื่องไปถึงวัยเรียน

l  วัย 6 – 12 ปี ในลักษณะของภาษา คณิต วิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ในด้านศิลปะ  ดนตรี และกีฬา

l  วัย 12 – 20 ปี สมองส่วนหน้าสุดจะมีการจัดระเบียบเส้นใยประสาท ทำให้มีการเรียนรู้ในด้านวิจารณญาณและการตัดสินใจ

l  เมื่อถูกกระตุ้นและได้รับการพัฒนา สมองจะสร้างเส้นใยประสาทเป็นจำนวนมาก  ส่วนที่ใช้บ่อยๆจะหนาขึ้นเป็นวงจรการเรียนรู้ ส่วนที่ไม่ถูกใช้ก็จะค่อยๆหายไป ซึ่งก็คือการจัดระเบียบเส้นใยประสาทนั่นเอง

l  สมองเป็นอวัยวะที่ขี้เกียจมาก ถ้าไม่ใช้ก็จะหยุดทำงาน ถูกตัดทิ้งไป

l  สมองที่ฝึกฝนและจัดกิจกรรมให้ทำต่อเนื่อง จะขยายเส้นใยสมองในด้านนั้นๆ

กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสมอง

l  ฟังเพลง, ออกท่าทาง, เต้นรำ, ร้องเพลง

l  พูดคุยและสนทนาโต้ตอบ

l  สัมผัสและนวด / กระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5

l  ชมเชยและให้กำลังใจ

l  จำกัดการดูโทรทัศน์และการเล่นวิดีโอเกม

l  สนับสนุนให้ทำงานอดิเรก

l  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

l  เข้านอนเป็นเวลา

l  หัดถามและตอบ

l  ใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์

                                                    แหล่งอ้างอิง
  
 คริสทีน วอร์ด.  มหัศจรรย์สมองของลูกรัก.  กรุงเทพฯ : แปลน ฟอร์ คิดส์, 2546.
 วนิษา เรซ. อัจฉริยะสร้างได้.  ปทุมธานี:อัจฉริยะสร้างได้, 2550.  
 

ทำไมต้องเรียนจิตวิทยาสำหรับครู

ทำไมต้องเรียนจิตวิทยาสำหรับครู?



วิชาชีพครู เป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญมาก ผู้ที่จะมาเป็นครูนั้น ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ มีการฝึกฝนทักษะการสอนให้มีความเชียวชาญ  นอกจากนี้แล้ว สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยารวมทั้งการนำมาปรับใช้กับกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ครูนั้นมีความเข้าใจในตัวเด็ก สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับพัฒนาการ ความแตกต่างระหว่างบุคคล และความสามารถทางสมอง  นอกจากนี้แล้วครูควรมีความรักและความเมตตาต่อศิษย์ให้เปรียบเสมือนเป็นบุตร  ครูผู้นั้นจึงจะได้ชื่อว่า "เป็นครูที่ดี"
Children full of life ครูกานามูริ