วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สมองกับการเรียนรู้

 
 
 
           สมองทำงานได้อย่างไร

สมอง ทำหน้าที่บัญชาการของระบบประสาทส่วนกลางทั้งหมด ควบคุมดูแลการรับรู้ประสาทสัมผัสต่างๆ(ความรู้สึกนึกคิด, การเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ)
ส่วนประกอบของสมอง

l  ซีรีเบลลัม              ควบคุมการเคลื่อนไหวและการทรงตัว

l  ซีรีบรัม               เป็นสมองส่วนที่มีเนื้อมากที่สุดดูแลเรื่องความจำ ความรู้สึกนึกคิด  เชาวน์ปัญญาโดยถูกแบ่งเป็นสองซีก ซึ่งทำงานประสานกันตลอดเวลา

l  ก้านสมอง               เป็นส่วนที่รับและถ่ายทอดข้อมูลจากประสาทสัมผัสต่างๆ ดูเรื่องจังหวะการเต้นของหัวใจ ปฏิกิริยาตอบสนอง   

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับสมอง

l  สมองของเด็กมีความยืดหยุ่นกว่าผู้ใหญ่

l  เด็กแต่ละวัยจะเปิดรับต่างกัน เด็กพัฒนาการเรียนรู้ ด้านภาษา และด้านร่างกายได้ดีกว่าผู้ใหญ่ (บัลเล่ต์)

l  ส่วนที่พัฒนาช้าที่สุดของสมองคือ ส่วนการคิด และการตัดสินใจ ซึ่งจะพัฒนาเต็มครบส่วนตอนอายุ 25 ปี

l  สมองส่วนคิด 80 %  สมองส่วนอยาก 20 % (อารมณ์ สัญชาตญาณ ซึ่งควบคุมพฤติกรรมต่างๆ)

l  สมองส่วนคิด มีความสามารถในการเรียนรู้อย่างไร้ขอบเขต เรียนรู้ได้ดีในภาวะอารมณ์ด้านบวก คือ สนุก ท้าทาย มีความสุข สงบ  ในทางกลับกันจะเรียนรู้ได้ลดลงในภาวะอารมณ์ด้านลบ คือ น่าเบื่อ เครียด  วุ่นวาย นอกจากนั้นสมองยังเรียนรู้จากสังคมและผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ พี่น้องหรือเพื่อน

l  ช่วง 20 ปีแรก สมองจะเรียนรู้ได้มาก และการเรียนรู้นั้นก็แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย เพราะสมองมีการจัดระเบียบเส้นใยประสาทจากด้านหลังมาด้านหน้า   สมองส่วนไหนมีการจัดระเบียบก่อน ก็จะทำให้เรียนรู้ได้ง่ายในช่วงวัยนั้น

l  วัยทารก  เรียนรู้เกี่ยวกับการสัมผัสและกล้ามเนื้อใหญ่

l  วัย 3 – 5 ปี สมองจะเรียนรู้ในด้านภาษา ความคิด และจินตนาการ ซึ่งจะต่อเนื่องไปถึงวัยเรียน

l  วัย 6 – 12 ปี ในลักษณะของภาษา คณิต วิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ในด้านศิลปะ  ดนตรี และกีฬา

l  วัย 12 – 20 ปี สมองส่วนหน้าสุดจะมีการจัดระเบียบเส้นใยประสาท ทำให้มีการเรียนรู้ในด้านวิจารณญาณและการตัดสินใจ

l  เมื่อถูกกระตุ้นและได้รับการพัฒนา สมองจะสร้างเส้นใยประสาทเป็นจำนวนมาก  ส่วนที่ใช้บ่อยๆจะหนาขึ้นเป็นวงจรการเรียนรู้ ส่วนที่ไม่ถูกใช้ก็จะค่อยๆหายไป ซึ่งก็คือการจัดระเบียบเส้นใยประสาทนั่นเอง

l  สมองเป็นอวัยวะที่ขี้เกียจมาก ถ้าไม่ใช้ก็จะหยุดทำงาน ถูกตัดทิ้งไป

l  สมองที่ฝึกฝนและจัดกิจกรรมให้ทำต่อเนื่อง จะขยายเส้นใยสมองในด้านนั้นๆ

กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสมอง

l  ฟังเพลง, ออกท่าทาง, เต้นรำ, ร้องเพลง

l  พูดคุยและสนทนาโต้ตอบ

l  สัมผัสและนวด / กระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5

l  ชมเชยและให้กำลังใจ

l  จำกัดการดูโทรทัศน์และการเล่นวิดีโอเกม

l  สนับสนุนให้ทำงานอดิเรก

l  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

l  เข้านอนเป็นเวลา

l  หัดถามและตอบ

l  ใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์

                                                    แหล่งอ้างอิง
  
 คริสทีน วอร์ด.  มหัศจรรย์สมองของลูกรัก.  กรุงเทพฯ : แปลน ฟอร์ คิดส์, 2546.
 วนิษา เรซ. อัจฉริยะสร้างได้.  ปทุมธานี:อัจฉริยะสร้างได้, 2550.  
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น